วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อสอบเก็บคะแนนกลางภาค : การอ่านเพื่อการวิเคราะห์

แบบทดสอบการอ่านเพื่อการวิเคราะห์
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 1 - 2
“ ดูข้าดูเมื่อใช้ งานหนัก
ดูมิตรพงศารัก เมื่อไร้
ดูเมียเมื่อไข้จัก จวนชีพ
อาจจักรู้จิตไว้ ว่าร้ายฤาดี ”
1. คำประพันธ์นี้เสนอแนวคิดด้วยโวหารใด
ก. พรรณนาโวหาร ข. เทศนาโหาร
ค. สาธกโวหาร ง. อธิบายโวหาร
2. แนวคิดสำคัญของคำประพันธ์คือข้อใด
ก. ดูจิตใจคนต้องดูที่การกระทำ
ข. การชนะใจคนต้องเอาความดีเข้าแลก
ค. การฉลาดในการคบคนทำให้จิตใจดีมีสุข
ง. คนเราเจริญหรือเสื่อมขึ้นอยู่กับจิตใจ
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 3 - 6
“ เมื่อมนุษย์เรียนรู้ภาษาและใช้ภาษาสำหรับแสดงออก
ซึ่งความคิดของตนแล้ว ก็ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการ
คิดอีกด้วย ภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการคิดได้อย่างไร
บางคนอาจมองเห็นได้ไม่ชัดเจนนักเพื่อให้เข้าใจง่ายจะ
ต้องอาศัยตัวอย่างใกล้ตัว ลองนึกถึงเวลาคิดโจทย์อยู่
คนเดียว ถ้าคิดโดยพูดออกไปด้วยเป็นคำพูดและ
บางทีก็อาจเขียนเป็นตัวเลขและตัวอักษรให้เป็นขั้นตอน
ไปตามลำดับของกระบวนการคิดนั้นก็คงจะได้คำตอบออก
มาเป็นระยะๆไป จนในที่สุดก็ได้คำตอบขั้นสุดท้าย
โดยสมบูรณ์ นอกจากนี้คงเคยสังเกตเห็นคนบางคน
ขณะคิดเลข ริมฝีปากจะเคลื่อนไหวไปด้วย แสดงว่า
คนนั้นกำลังคิดโดยอาศัยคำพูดเป็นเครื่องช่วยคิด หรือ
ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับคิด เมื่อคิดวาง
โครงการก็เช่นกัน บุคคลย่อมต้องคิดโดยอาศัยภาษา
ตลอดเวลา อาจเปล่งเสียงพูดออกมาก่อนแล้วจึงร่าง
เป็นตัวหนังสือ คิดทบทวนแก้ไขอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ก่อน
จะสำเร็จเป็นโครงการ กระบวนการคิดในกลุ่มบุคคล
ก็ต้องคิดออกไปดังๆเป็นคำพูดให้ผู้ที่ร่วมคิดได้ยินและ
รับรู้ความคิดของตน ”
3. ผู้เขียนมีเจตนาในการเขียนเพื่ออะไร
ก. แจกแจงคุณค่าของภาษาไทย
ข. อธิบายความโดยยกตัวอย่างประกอบ
ค. ถ่ายทอดประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาษา
ง. นำเสนอกระบวนการใช้ภาษาเพื่อการ
สร้างสรรค์
4. จากข้อความดังกล่าวไม่สามารถอนุมานความคิด
ได้ตามประเด็นใด
ก. ภาษาเป็นพื้นฐานแห่งการเรียนรู้และการ
ทำงาน
ข. การสื่อสารให้เกิดผลย่อมสืบเนื่องมาจากการ
รับรู้ความคิดของผู้ส่งสาร
ค. ประสิทธิภาพของการใช้ภาษาสื่อสารระหว่าง
บุคคลย่อมดีกว่าสื่อสารเพียงลำพัง
ง. การใช้ภาษาของบุคคลย่อมอาศัยคำพูดเป็น
เครื่องช่วยคิดให้เกิดความเข้าใจ
5. ข้อใดเป็นลักษณะการเขียนข้อความดังกล่าว
ก. เปิดประเด็นด้วยคำถามและเสิมความด้วย
ตัวอย่าง
ข. เริ่มต้นให้ชวนคิด พินิจความ และตามด้วย
คำคม
ค. อ้างอิงความคิดอย่างแยบยล เริ่มต้นด้วย
ข้อตกลง
ง. เริ่มต้นและลงท้ายด้วยวาทนิพนธ์และ
ประสานความคิดอย่างมีหลักการ
6. วิธีการใดไม่ปรากฏในการเขียนจากข้อความที่อ่าน
ข้างต้น
ก. การบรรยายความ
ข. การอธิบายความ
ค. การสาธกเรื่องราว
ง. การพรรณนาความ
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 7 - 10
“ (1) ทะเลแสนงาม ในน้ำมีปลา
(2) พืชพรรณดื่นดาษตา ไร่นารวงทองไสว
(3) สินทรัพย์มีเกลื่อนกล่น บรรพชนให้ไว้
(4) เราลูกหลานไทย จงร่วมใจรักษาให้มั่น
(5) แหลมทองโสภา ด้วยบารมี
(6) ปกเกล้าเราไทยนี้ ร่มเย็นเป็นศรีผ่องใส
(7) ใครคิดบังอาจหมิ่น ถิ่นทององค์ไท้
(8) เราพร้อมพลีใจ ป้องถิ่นไทยและองค์ราชัน ”
( เพลงรักกันไว้เถิด )
7. เจตนาของผู้แต่งเพลงนี้คือข้อใด
ก. โน้มน้าวใจให้ผู้ฟังคล้อยตาม
ข. พรรณนาความให้เห็นความงาม
ค. จูงใจให้ผู้ฟังตระหนักในคุณค่าแห่งตน
ง. แจกแจงกระบวนวิธีการป้องกันประเทศ
8. ข้อใดสรุปความไม่ถูกต้อง
ก. ความสมบูรณ์พูนสุขของประเทศเป็นผล
มาจากการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ
ข. ความสามัคคีของชนในชาติเสริมสร้างให้เกิด
การปกครองแบบภารดรภาพ
ค. คนไทยมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
และไม่ยอมให้ใครมาทำลาย
ง. คนไทยทุกคนต้องร่วมใจกันรักษาทรัพยากร
ธรรมชาติของไทยให้คงอยู่
9. ข้อความใดมีลักษณะเหตุและผล
ก. ข้อความที่ 2 ข. ข้อความที่ 3
ค. ข้อความที่ 4 ง. ข้อความที่ 7
10. ความคิดที่ผู้แต่งต้องการสื่อสารตรงกับข้อความใด
ก. ข้อความที่ 7 , 8 ข. ข้อความที่ 3 , 4
ค. ข้อความที่ 5 , 6 ง. ข้อความที่ 4 , 8
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 11 - 13
“ วัตถุดิบคนหนุ่มสาวผู้เร่าร้อน
ถูกป้อนเข้าโรงงานอันยิ่งใหญ่
เพื่อผลิต “สินค้าคน” สู่กลไก
มีกระดาษหนึ่งใบบอกราคา ”
11. ผู้เขียนแสดงน้ำเสียงลักษณะใด
ก. ชื่นชมยินดี ข. ประหลาดใจ
ค. ไม่พอใจ ง. เศร้าเสียใจ
12. “ โรงงาน ” หมายถึงอะไร
ก. สถานศึกษา
ข. แหล่งผลิตสินค้า
ค. สังคมอุตสาหกรรม
ง. สังคมเมืองหลวง
13. ข้อใดไม่อาจอนุมานได้จากเรื่องที่อ่าน
ก. ค่าของคนกำหนดได้จากวุฒิการศึกษา
ข. วัยรุ่นใฝ่ฝันที่จะทำงานในหน่วยงานที่ยิ่งใหญ่
ค. เมื่อสำเร็จการศึกษาหนุ่มสาวก็มุ่งทำงาน
ง. สังคมมีสถาบันพัฒนาคุณภาพของหนุ่มสาว
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 14 - 17
“ แต่คนทั้งปวงบางที่อาจจะลืมเสียสนิทว่า ชนบท
นั้นเองเปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ และคนโดยมาก
นั้นเมื่อพูดถึงต้นก็มักจะไปยกย่องเอาเสียที่แก่นไม้มาก
กว่าเปลือก ยามจะติฉินนินทาใครบางทีก็ยังมีอุปมาเอา
ว่าเป็นคนไม่มีแก่นมีแต่เปลือก คือหาสติปัญญาไม่ได้
ดูถูกเปลือกแต่ไปยกย่องแก่น ต้นกล้วยนั้นมีแก่นหรือไม่
แต่ก็เลี้ยงชีวิตคนมาเสียไม่น้อยด้วยผลของมัน
ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ชนบทนั้นเองหล่อเลี้ยงแก่น
คือชาวเมืองหรือชาวกรุงอยู่ทุกวันนี้ แต่คนก็มาเพ่งหนัก
เอาที่ในเมือง ทุ่มเทส่วนใหญ่ลง ณ ที่นี้ จนเมืองนั้นเอง
กลายเป็นแหล่งของมลภาวะทั้งปวงไป ”
14. สาระสำคัญของข้อความนี้คืออะไร
ก. เมืองเป็นแหล่งมลภาวะที่ควรแก้ไข
ข. รัฐบาลให้ความสำคัญแก่เมืองมากกว่านบท
ค. ชนบททำประโยชน์แก่เมืองมาก แต่ได้รับ
ผลตอบแทนน้อย
ง. สังคมชนบทมีความสำคัญน้อยกว่าสังคมเมือง
15. ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการเขียนอย่างไร
ก. แนะนำ ข. ปรารภ
ค. เตือนสติ ง. เปลี่ยนทรรศนะ
16. ข้อเขียนนี้มีจุดเด่นในเรื่องกลวิธีการเขียนอย่างไร
ก. ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน
ข. ใช้แนวใหม่ในการเปรียบเทียบ
ค. ใช้ถ้อยคำกะทัดรัด
ง. ให้เหตุผลสนับสนุนดี
17. จากข้อเขียนนี้ผู้เขียนมีความคิดอย่างไร
ก. รักความยุติธรรม
ข. ช่างเปรียบเทียบ
ค. ชอบสร้องสรรค์
ง. ชอบสังคมชนบท
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 18 - 25
“ ขุดร่องริมขอบนาโดยรอบกว้าง 2 เมตร ลึกลงใน
พื้นนา 1 เมตร นำดินขึ้นถมคันให้สูงขึ้นประมาณ 1
เมตร ใช้ป้องกันน้ำท่วมจากภายนอกและใช้เก็นน้ำภาย
ใน
กรมประมงแนะนำให้ชาวนาขุดบ่ออนุบาลขนาด
50 - 100 ตารางเมตร อยู่ในแปลงนาเพื่อนุบาลลูกปลา
ขนาด 2 - 3 ซม. บ่ออนุบาลและคูน้ำให้กักน้ำสูง 70 ซม.
ขณะที่ปล่อยพันธ์ปลา
ทำนาแบบปกติจนต้นข้าวอายุได้ 20 วันขึ้นไป
ก็เริ่มเพิ่มน้ำมากขึ้น ให้ปลาออกว่ายหากินในบริเวณนา
ทั้งแปลง และยกระดับน้ำสูงขึ้นอีกจนพอเหมาะกับ
ความสูงของต้นข้าว
ปลากินวัชพืช แมลงศัตรูข้าวหลายชนิด ช่วยพรวน
ดินโดยการว่ายและการหาอาหาร ปลา 1 ตัวพอดีกับ
พื้นที่ 1 ตารางเมตร พันธุ์ปลาที่อาจใช้ในระบบนี้มีหลาย
ชนิด เช่น ปลาไน ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ
ปลาจีน ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาเฉาหรือปลา
กินหญ้า
ถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็สูบน้ำออกให้นาแห้ง ปลาจะมา
รวมอยู่ในคูน้ำโดยรอบ ข้าวได้เพิ่มขึ้น ปลาก็ได้กำไร ”
18. ข้อความนี้ควรตั้งชื่อเรื่องอย่างไร
ก. การเลี้ยงปลาในนา
ข. การเลี้ยงปลาในนาข้าว
ค. ในน้ำมีปลาในนามีข้าว
ง. ข้าวในนาปลาในน้ำ
19. ถ้าจะเลี้ยงปลาในนา เกษตรกรควรจะเริ่มเลี้ยง
เมื่อใด
ก. เริ่มเลี้ยงลูกปลาพร้อมๆกับการปลูกข้าว
ข. เมื่ออนุบาลข้าวแล้วราว 20 วัน
ค. เมื่อขุดบ่ออนุบาลเสร็จเรียบร้อย
ง. เมื่อขุดคูและบ่อทั้งภายนอกและภายในนาแล้ว
20. ข้อความ “ ได้ข้าวเพิ่มขึ้น ” อธิบายได้ตามเหตุผล
ข้อใด
ก. ได้ข้าวนอกนาจากร่องคูริมของนาด้วย
ข. ปลาในนาช่วยให้ต้นข้าวงามกว่าปกติ
ค. ต้นข้าวปลอดภัยจากศัตรู
ง. ระดับน้ำเหมาะแก่ความต้องการของต้นข้าว
21. ถ้าเกษตรกรจะเลี้ยงปลาแบบนี้ ข้อใดที่ไม่จำเป็น
ต้องทำ
ก. การคัดเลือกพันธุ์ปลาที่เหมาะสม
ข. การคำนวณอัตราส่วนพื้นที่ต่อปริมาณปลา
ค. การสำรวจปริมาณและแหล่งน้ำที่จะใช้
ง. การจัดหาวัชพืชให้เป็นอาหารปลา
22. เพราะเหตุใดข้อความนี้จึงกล่าวว่า “ ปลาก็ได้กำไร ”
ก. ทุ่นค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารปลา
ข. ปฏิบัติเต่นนี้แล้วเกิดผลพลอยได้สำคัญคือปลา
ค. เลี้ยงปลาได้หลายชนิดล้วนเป็นปลาที่ได้ราคาดี
ง. ลงทุนน้อยเพราะซื้อปลามาเลี้ยง
23. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ที่ได้จากการเลี้ยงปลาในนา
ก. ดินร่วนขึ้น
ข. แมลงศัตรูข้าวลดลง
ค. ข้าวได้น้ำมากขึ้น
ง. วัชพืชที่ไม่พึงประสงค์หมดไป
24. ถ้าเกษตรกรจะเลี้ยงปลาแบบนี้ท่านคิดว่าข้อใด
จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุด
ก. ไม่มีพันธุ์ปลาที่เหมาะสมในห้องถิ่นนั้น
ข. พื้นที่นาเป็นดินแข็งเกินไปยากแก่การขุด
คูและบ่อ
ค. การชลประทานไม่ทั่วถึง
ง. เกษตรกรขาดความรู้และประสบการณ์
25. ข้อความนี้ใช้กลวิธีใดในการอธิบาย
ก. การใช้ตัวอย่าง
ข. การชี้แจงตามลำดับ
ค. การกล่าวซ้ำด้วยคำแปลกออกไป
ง. การชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน

21 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ข้อสอบอาจารย์มีสาระดี แต่ว่ามันดูยากมากๆ เลย เพราะทุกข้อมันก็เกือบถูกหมดไม่รู้จะตอบข้อไหนเลยครับ
นายอัคร์ เฉลยถ้อย ม.6/5 เลขที่ 8 (ข)

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์คะ ข้อสอบมันยากอยู่นะคะ มันไม่ค่อยได้เลย
มันเป็นวิเคราะห์หมดเลยอ่ะยากมากมาย แต่มันก็เป็นแนวที่จะใช้สอบต่อไป จะพยายามให้มากขึ้นนะคะ
(เวลาอาจารย์สอนในห้องสนุกดีคะ ตลกด้วย ชอบมากๆเลยคะ )

นางสาว เขมณัฏฐ์ ดิสสงค์ ม.6/5 เลขที่ 12(ข)

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ.ข้อสอบ

มันยากจัง

ทำแล้วก้อตก

ต้องใช้การอ่านที่ละเอียดอ่อนมากเลย
เพราะมันเป็นการอ่านวิเคราะห์

นางสาวศุกร์มนัส บุญพงษ์ ม.6/7 เลขที่ 19ข.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์ข้อสอบง่ายกว่านี้มีอีกไหม แบบนี้ง่ายเกินไปทำไม่ได้ แต่ข้อสอบอาจารย์ก็ให้นักเรียนได้รูจักคิดวิเคราะห์ดีนะค่ะ

นางสาวพะเยีย กลิ่นชะเอม ม.6/5 เลขที่ 20(ข)

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์ค่ะ

อยากรู้เฉลยข้อสอบค่ะ

บอกได้รึเปล่าค่ะ

คิดแล้วมันก็ถูกทุกข้อเลยค่ะ

น.ส.ณิชากร บุญชำนาญ ม.6/6 เลขที่ 11ก.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ตอนแรกผมกะจะลองทำข้อสอบนี้ดู

แต่พออ่านโจทย์ปุ๊บ ก็หมดความคิดที่จะทำปั๊บ

ไว้คราวหน้าผมจะมาลองทำดู

ท่าทางคงวิเคราะห์จนปวดหัวแน่



นาย สุเมธานนท์ มีนิล

ม.6/10 เลขที่ 10_ก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โอ้ว...อาจารย์
ทำไมยากจัง โจทย์กำกวมแบบนี้
ยิ่งอ่านยิ่งงง วิเคราะห์ไม่ถูกเลย T^T
แต่จะพยายามทำดูค่ะ ^-^

น.ส.มุกรินทร์ เพ็งสุวรรณ ม.6/6 เลขที่ 15ข

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์ครับ
ผมลองทำดูแล้ว แต่ไม่มีเฉลยอ่ะครับ
อยากรู้ว่าผมวิเคราะห์ได้ในระดับไหน

นายธงชัย กระต่ายเทศ ม.6/6 เลขที่ 4 ก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อิอิ อาจารย์ข้อสอบของอาจารย์หนูอ่านแร้วปวดหัว สุดๆอ่ะ เครียดนะเนี่ย ปลายภาคเรียนนี้ อาจารย์ออกให้มันง่ายก่านี้หน่อยด้ายมะคะ ศิษย์ขอร้อง ฮือๆๆ

น.ส. อทิพาวรรณ สายทองคำ ม.6/6 เลขที่20ข.

มธุรส ลาภากรณ์ ม.6/11 เลขที่ 16ก กล่าวว่า...

โอ้ ข้อสอบปลายภาคหรือนี่ ยากแท้

แต่จะพยายามทำให้ดีที่สุดค่ะ

เหมือนเป็นการท้าทายหัวสมองดี ^^"

น.ส.มธุรส ลาภากรณ์ ม.6/11 เลขที่ 16ก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์ ทำไมไม่มีเฉลยละค่ะ

แล้วจะรู้ว่าทำถูกหรือผิด

ยากมากๆเลย แล้วปลายภาคจะยากแบบนี้

ไหมเนี่ย แต่ก็คงไม่ยากเกินความสามารถของ

นร.แน่นอน จะพยายามทำให้ได้เกรด 4ให้ได้

ขอบคุณนะค่ะ ที่มีแนวข้อสอบมาให้ลองทำ

แล้วก็เตรียมตัวเตรียมใจก่อนสอบ


นางสาวณัฐธินี จันทร์เทียน ม.6/8 14 ข.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ่าอ่านแล้วรู้สึกว่าตัวเองต้องหัดใช้ความคิดให้มากกว่านี้

และต้องใช้สมาธิให้มากกว่านี้อีกด้วย

และหนูจะพยามให้มากขึ้นด้วยคะ

น.ส.รจนนท์ มงคล ม.6/11 เลขที่ 19 ข.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์คะ...สวยจังเลยรูปที่อาจารย์ถ่ายมาอ่า

อาจารย์คะ

ทามมายม่ายเฉลยอ่า

ข้อสอบก้อยากอ่า

แบบว่า

เหมือนถูกทุกข้อเลย

อย่างน้หนูคงตกแน่เลยอ่า


อิอิ


น.ส.ทวีรัตน์ จงนุเคราะห์

ชั้นม.6/10

เลขที่ 7 ก.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์คะ พูดตรงๆเลยนะ

ข้อสอบมันยากโคตรๆอ่ะ


ทำ 3 รอบล่ะ ก็ยังตกอยู่ดี T T

หรือเทนโง่ภาษาไทยเองเนี่ย :P


ขอข้อสอบแบบง่ายกว่านี้ได้ไหมคะ

นางสาวเนตรทราย เทียมสัมฤทธิ์ ชั้นม.6/4 เลขที่ 13ข.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์คะ ข้อสอบยากมากมายอ่ะ

เอาง่ายๆกว่านี้ได้ไม๊คะ


ทำหลายรอบก้ตกหลายรอบ อิอิ


นางสาวธันยพร บำรุง 6/4 10ข.

น.ส.ณัชญากาญจน์ พานิชพิบูลย์ กล่าวว่า...

คิดถึงอาจารย์ทุกๆท่านเลยค่ะ
โดนเฉพาะอาจารย์ชูชีพ (เสี่ยท่าโพธิ์)

ขอบคุณอาจารย์ทุกๆท่านที่สอนสั่งพวกเรามาค่ะ

น.ส.ณัชญากาญจน์ พานิชพิบูลย์ ม.6/6 เลขที่ 12ข

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ข้อสอบอาจารย์ซับซ้อนดีนะคะ

มันดูเหมือนถูกทุกข้อเลยค่ะ

หนูไม่ชอบข้อสอบวิเคราะห์เลยค่ะ
เพราะว่าโจทย์มันยาวเหมือนเรียงความเลยค่ะ


นางสาวมัฑนา ประชีพฉาย ชั้นม.6/4 เลขที่17ข.ไข่

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์สอนวิธีคิดได้ไหมคะ-*-

คิดยังไงก็คิดไม่ออก

นางสาวนพวรรณ จันทะวัน เลขที่ 12 ข. ม. 6/4

น.ส.คัทลิญา เสนารายณ์ ชั้นม.6/4 เลขที่ 11ก กล่าวว่า...

คิดถึงอาจารย์ทุกคนมากเลยค่ะ

อยากให้อาจารย์กลับมาเยี่ยมพวกเราบ้างค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์ทำไมมีความคิดสร้างสรรค์จริง ๆ เลยนะค่ะ อาจารย์กลับไปเที่ยวบ้านบ่อยไหมค่ะ


น.ส. เจนจิรา เครือทิวา ม.6/4 เลขที่ 10ก.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์เฉลยข้อสอบด้วยนะครับ
ผมอย่ารู้จัง
ข้อสอบยากมากมาย
ถ้าออกแบบนี้ผมตกแน่ๆเลย

นายทศพล จันทร์ภู่ เลขที่ 2ก. ม.6/4